-- การยืนโยน

1. การยืนโยน  มีอยู่  3  ลักษณะ  คือ  การยืนแบบเท้านำเท้าตาม(ชิดหรือห่าง) การยืนแบบเท้าคู่ขนาน (ชิดหรือห่าง)  และการยืนแบบเท้าแยก 450 (ชิดหรือห่าง) เท้าทั้งสองอยู่ในวงกลม  วางเท้าให้เสมอกันหรือเหลื่อมกันเล็กน้อย  ลักษณะการโยนลูกเปตองนี้ส่วนใหญ่แล้วจะเหมือนกับการโยนไม่ว่าจะเป็นการจับลูกเปตอง  การส่งลูกด้วยแขน  การทำให้ลูกหมุนกลับและลอยสูงต่ำด้วยการสะบัดข้อมือและการควบคุมทิศทางของลูกโดยใช้นิ้วมือ



            การยืนโยนนี้เหมาะสำหรับการเล่นที่ตำแหน่งของลูกเป้าอยู่ไกลจากวงกลมหรือสนามวิบาก  สนามเปียกชื้น  สนามที่เต็มไปด้วยก้อนหินหรือสิ่งกีดขวาง  หากตำแหน่งของลูกเป้าอยู่ในระยะ 6 – 8 เมตร จากวงกลมผู้โยนควรจะก้มตัวและย่อเข่าลงเพื่อบังคับมิให้ลูกเปตองลอยสูงและเกิดแรงส่งมากเกินไป  แต่ถ้าหากลูกเป้าอยู่ไกลกว่า  8  เมตรขึ้นไปควรจะยืดลำตัวขึ้นขณะโยนเข่าจะงอเล็กน้อย  แต่เวลาปล่อยลูกเปตองออกจากมือนั้นจะต้องเขย่งเท่าทั้งสองขึ้น  พร้อมทั้งยืดเข่าในท่าสปริงตัวขึ้นเพื่อช่วยในการส่งลูกให้แรงและลูกลอยสูง

            
                
               ข้อจำกัดของการยืนโยนนี้มีอยู่บ้าง  กล่าวคือ  หากไปเล่นในสนามที่เรียบมากๆ  พื้นแห้งและแข็งแล้วการโยนมักจะไม่ได้ผล  ควบคุมลูกลำบาก  ลูกมักจะเลยเป้าหมาย  อีกประการหนึ่ง ผู้โยนมักจะลืมตัวโดยยกขาข้างใดข้างหนึ่งจากพื้นโดยเฉพาะนักกีฬาเปตองใหม่ๆ  ซึ่งยังไม่ชำนาญในการโยนลูกเปตองแบบนี้  และประการสุดท้ายคือ  จุดตกของลูกเปตองที่โยนไป  หากผู้โยนไม่สามารถบังคับลูกให้ตกพื้นสนามตามที่ต้องการแล้ว  การโยนแบบนี้ก็จะไม่ค่อยประสบผลสำเร็จนัก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น