-- การนั่งโยน

            2. การนั่งโยน  การนั่งโยนลักษณะการนั่งโยน มีอยู่  2  ลักษณะ  คือ
                    2.1 การนั่งบนส้นเท้าข้างเดียว
                    2.2 นั่งบนส้นเท้าทั้งสองข้าง  
                ก่อนการโยนผู้เล่นจะต้องปฏิบัติตามกติกาสากลการเล่นเปตองอย่างเคร่งครัดเสียก่อน  คือ  เท้าทั้งสองข้างต้องอยู่ภายในวงตามขนาดที่กำหนด  (เส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 35-50 เซนติเมตร) ห้ามเหยียบเส้นรอบวง  ห้ามยกเท้าและห้ามออกจากวงกลมก่อนที่ลูกเปตองจะตกถึงพื้น  ส่วนอื่นของร่างกายจะถูกพื้นนอกวงกลมไม่ได้  การฝึกหัดปฏิบัติตามกติกานี้ควรจะปฏิบัติทั้งการฝึกและการซ้อมและแข่งขัน  ทั้งนี้เพื่อจะได้เกิดเป็นความเคยชินและป้องกันไม่ไห้เกิดปัญหาในภายหลัง




หลังจากเท้าทั้งสองข้างอยู่ภายในวงกลมแล้วการวางเท้าจะเสมอหรือเหลือมกันเล็กน้อยก็ได้  เขย่งเท้าทั้งสองขึ้นแล้วนั่งลง  ลำตัวยืดตรง  ทิ้งน้ำหนักลงบนส้นเท้าทั้งสองจับลูกเปตองตามวิธีที่ถูกต้อง  เหยียดแขนไห้ตรงแล้วลองแกว่งแขนไปข้างหลังและข้างหน้าเป็นการทดสอบว่าหลังมือจะถูกพื้นสนามได้หรือไม่  เมื่อเตรียมตัวจะโยนทำจิตใจไห้สงบและมีสมาธิ (เพราะหากจิตใจเกิดความเครียดจะทำให้กล้ามเนื้อและข้อมือเกร็ง)  สายตามองไปที่ลูกเป้า  ดูพื้นสนามระหว่างจุดที่ตัวเองยืนอยู่ว่ามีสภาพอย่างไรเรียบ  ขรุขระหรือลาดเท  แล้วเตรียมปรับให้สัมพันธ์กันกับสภาพของสนาม  คำนวณแรงส่งของลูกเปตองกับระยะทาง  เวลาโยนให้แขนโน้มไปข้างหลังให้พอเหมาะเพื่อจะได้มีแรงส่งแล้วแกว่งแขนไปข้างหน้าเพื่อส่งลูก  ขณะเดียวกันให้สะบัดข้อมือขึ้นเพื่อให้ลูกเปตองหมุนกลับหลังพร้อมทั้งปล่อยมือออกจากปลายนิ้วมือทั้งสี่  ลูกที่พุ่งออกไปจากมือนี้จะตกพื้นใกล้หรือไกลอยู่ที่แรงส่งของแขน  ขณะเดียวกันลูกเปตองจะหมุนกลับหลังมากหรือน้อย  ลอยสูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับการสะบัดข้อมือ  ส่วนลูกเปตองจะเคลื่อนที่ไปทางทิศทางไหนอยู่ที่การบังคับทิศทางของนิ้วมือ  ถ้าทั้งสามประการนี้มีความสัมพันธ์กันพอดี  กล่าวคือ  แรงส่ง  แรงถ่วงรั้ง  และความสามารถของนิ้วมือในการควบคุมทิศทางของลูกเปตองมีค่าเท่ากันแล้ว  การโยนลูกเปตองนี้จะสามารถบังคับให้เป็นไปตามความต้องการของผู้เล่น

                  
การนั่งโยนนี้เหมาะสำหรับการเล่นระยะใกล้  คือ  ลูกเป้าอยู่ห่างจากวงกลมที่ยืนประมาณ  6 - 8 เมตร  ทั้งสนามเรียบและสนามวิบาก  อย่างไรก็ตามหากเป็นสนามเรียบ  แห้งและลื่นแล้ว  การนั่งโยนนี้มีข้อได้เปรียบคือ  ขณะโยนลูกเท้าข้างใดข้างหนึ่งจะไม่มีโอกาสยกขึ้นลอยจากพื้นเลยเพราะตัวของผู้โยนนั่งอยู่บนส้นเท้าทั้งสองจึงตัดปัญหาเรื่องการฟาล์วเนื่องจากยกเท้าไปได้

1 ความคิดเห็น:

  1. การโยนลูกเปตองยกขาข้างใดข้างหนึ่งได้หรือไม่

    ตอบลบ